วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ข้าวอิทรีย์



 ข้าวอินทรีย์
ข้าว  (Rice)  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Oryza  sativa  Linn  รวบรวมจากการสัมภาษณ์เกษตรกรตัวแทนกลุ่มจากพื้นที่ปลูกทั้งหมด  36  ไร่  เกษตรกรแต่ละรายในกลุ่มมีพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์ประมาณ  6-10  ไร่  ในตำบลโชคสามนา  อำเภอปราสาท  จังหวัดสุรินทร์  และตัวแทนกลุ่มเกษตรกรในศูนย์ฝึกอบรมเกษตรกรผสมผสานบ้านโนนรัง  ในพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์  15  ไร่  โดยเกษตรกรแต่ละรายในกลุ่มทำการผลิตข้าวอินทรีย์ประมาณ  5-10  ไร่  ในตำบลตลาดไทร  อำเภอชุมพวง  จังหวัดนครราชสีมา
                เกษตรกรตัวแทนของทั้ง  2  กลุ่มดังกล่าวได้นำเสนอการผลิตข้าวอินทรีย์  ดังนี้ 
 
การเตรียมพื้นที่ปลูก
                เลือกพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ติดต่อกันและมีความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยธรรมชาติค่อนข้างสูง  ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของข้าวอย่างเพียงพอ  แล้วทำการไถดะ ไถแปร     ไถพรวน  แล้วหว่านโดโลไมท์  ในกรณีที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ไม่พอ  เกษตรกรจะปลูกพืชตระกูลถั่ว  รอจนกระทั่งถั่วเริ่มออกดอกจึงไถกลบ  ถ้าไม่ปลูกพืชตระกูลถั่ว  เกษตรกรจะใช้วิธีไถกลบตอซังหรือหญ้าแทน  ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปุ๋ยพืชสด  เมื่อไถกลบแล้วจึงหว่านโดโลไมท์  เพื่อปรับสภาพดิน
                ในกรณีที่ไม่สามารถหาพื้นที่ขนาดใหญ่ได้  ก็จะมีการรวมกลุ่มในบริเวณใกล้เคียงกัน  แล้วทำการผลิตข้าวอินทรีย์ร่วมกันเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตและการตลาด
 
การเลือกใช้พันธุ์ข้าว
                นายจันทน์ที  ประทุมภา  ปราชญ์ชาวบ้าน  เลือกใช้ข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมือง ที่เก็บเมล็ดไว้ใช้เอง 
                นายโกศล  หมายทอง  ศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน  บ้านมะเมียน  ใช้ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ  105  และ  กข  15  โดยเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง
 ภาพที่  1  นาข้าว
                เกี่ยวกับพันธุ์ข้าวที่ปลูก  เป็นข้าวอินทรีย์   มีหลายพันธุ์  มีผู้รวบรวมไว้  ดังนี้  (สวนสิงห์.      คอม,ม.ป.ป.)
                                1.  ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105ได้รับรองให้เป็นข้าวหอมพันธุ์ที่มีชื่อ ขาวดอกมะลิ 105 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2502 โดยเริ่มแรกให้ชื่อว่าขาวดอกมะลิ  4 - 2 - 105  (หมายเลข 4 หมายถึงอำเภอที่เก็บมา คือ อำเภอบางคล้า  หมายเลข 2 หมายถึง ชื่อพันธุ์ข้าวที่เก็บในอำเภอนั้น คือ หอมมะลิ และหมายเลข105 คือ ตำแหน่งรวงข้าวของพันธุ์หอมมะลิที่เก็บในที่นั้น)  หอมมะลิ  มีที่มาจากความขาวของเมล็ดข้าว  และความหอมที่คนไทยมักจะนำไปเปรียบเทียบกับดอกไม้ไทยในขณะนั้น คนไทยใช้ดอกมะลิที่มีสีขาวสำหรับบูชาพระ เป็นความประทับใจคล้าย ๆ กัน จึงมีผู้นำมาใช้เป็นชื่อพันธุ์ข้าวหอมของไทย เหตุผลที่ข้าวพันธุ์นี้ได้ถูกนำไปขยายผล เพราะเป็นข้าวที่มีความโดดเด่น ในรูปลักษณ์และรสชาติซึ่งเป็นผลดีทั้งในด้านความหอมและ ความนุ่มของรสชาติจนได้รับความนิยมจากผู้บริโภค       ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ  สำหรับพื้นที่ปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่เหมาะสม ได้แก่           ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางบางพื้นที่  ข้าวขาวดอกมะลิ 105  เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสงมีกลิ่นหอม เมล็ดอ่อนนุ่มเมื่อนำมาหุงต้ม  ทนต่อสภาพแล้ง ทนต่อดินเปรี้ยวและดินเค็มคุณภาพการขัดสีดี เมล็ดข้าวสารใส แข็ง มีท้องไข่น้อยทำให้นวดง่ายเนื่องจากเมล็ดหลุดร่วงจากรวงได้ง่ายเป็นที่ต้องการของตลาด ขายได้ราคาดี (กรมพัฒนาที่ดิน,  ม.ป.ป.; บีเฮิร์บผลิตภัณฑ์ข้าวและสมุนไพร, ม.ป.ป.)
                                2.  พันธุ์ปิ่นเกษตร  เป็นข้าวพันธุ์ดีผลผลิตสูง ดูแลง่าย คุณภาพเมล็ดข้าวสารจะเป็น    ข้าวนุ่ม เป็นที่ต้องการของกลุ่มพ่อค้าโรงสี  ข้าวปิ่นเกษตรเป็นลูกผสมระหว่างข้าวขาวดอกมะลิ 105 กับข้าวทนแล้ง เป็นข้าวขาว มีกลิ่นหอม นุ่มเหนียว  ข้าวกล้องมีความนุ่มนวล  เมล็ดมีความยาวกว่า        8 มิลลิเมตร  และเมล็ดใสมีเปอร์เซ็นต์ข้าวสูงเมื่อขัดสี  ข้าวกล้องมีธาตุเหล็กที่เป็นประโยชน์  เมื่อนำมาหุงสุกรวมกับข้าวพันธุ์อื่น จะช่วยให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็กสูงขึ้นซึ่งให้ผลสอดคล้องกัน     ทั้งการทดสอบในระดับเซลล์และในมนุษย์  และด้วยคุณสมบัตินี้ข้าวปิ่นเกษตรจึงได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 3 จากการประกวดข้าวโลก (2nd World Rice Competition) เมื่อปี 2547(ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวและหน่วยงานปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว, 2552)
                                3.  พันธุ์หอมชลสิทธิ์  เป็นข้าวหอม ให้ผลผลิตสูง เป็นลูกผสมของข้าวทนน้ำท่วมกับข้าวขาวดอกมะลิ 105  จุดเด่นเป็นข้าวหอมนาปรังทนน้ำท่วม สามารถปลูกได้ทั้งปี  ทนน้ำท่วมได้นานถึง 2 สัปดาห์  ดังนั้นจึงเหมาะกับพื้นที่นาภาคกลางที่เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ง่าย  ข้าวหอมชลสิทธิ์ดูแลง่าย  ให้เมล็ดข้าวที่มีคุณภาพการสีดี  ถูกคัดเลือกให้มีคุณสมบัติการหุงต้มแบบข้าวขาวดอกมะลิ เมล็ดข้าวมีกลิ่นหอม  ให้ผลผลิตข้าวเปลือกในระดับ 900 – 1000 กิโลกรัมต่อไร่  (ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวและหน่วยงานปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว, 2552)
                                4.  พันธุ์  กข 33  (หอมอุบล 80 ) เป็นผลงานวิจัยระหว่างสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) กับ ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว เป็นข้าวที่มีคุณภาพเมล็ดคล้ายข้าวหอมมะลิ 105 ทั้งรูปร่างเมล็ดและกลิ่น แต่ไม่ไวแสง ปลูกได้ทั้งปี ต้านทานโรคไหม้ ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าข้าวหอมมะลิ 105  (ฐานข้อมูลพันธุ์ข้าวของไทย, 2550; กรมการข้าว  ความรู้เกี่ยวกับข้าวชาวนา, ม.ป.ป.)
                                5.  พันธุ์หอมนิล  เป็นพันธุ์ข้าวที่มีโภชนาการสูง  ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวที่ได้รับ       การคัดเลือกและพัฒนาจนได้เป็นข้าวกล้องที่มีเมล็ดเรียวยาว สีม่วงเข้ม เมื่อหุงสุกจะนุ่มเหนียว และมีกลิ่นหอม น่ารับประทาน ที่สำคัญคือมีโปรตีนสูงถึง 12.5  เปอร์เซ็นต์  ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 70  เปอร์เซ็นต์  ปริมาณ amylose  16  เปอร์เซ็นต์  และประกอบไปด้วย ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 เมล็ดมีสีม่วงดำ หอมนุ่ม ผลผลิตต่อไร่      อยู่ในระดับกลางค่อนข้างสูง ดูแลง่าย ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวนาสวน ไม่ไวแสง สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี  มีการแตกกอดีแต่ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้งและแมลง  โดยทั่วไปนิยมสีเป็นข้าวกล้องเพราะราคาขายจะสูงกว่าราคาข้าวขาวทั่วไป
                                6.  พันธุ์ กข 15  ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ โดยการใช้รังสีชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยใช้รังสีแกมมาปริมาณ 15 กิโลแรด อาบเมล็ดพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในปี พ.ศ. 2508 แล้วนำมาปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวต่าง ๆ ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ KDML 10565G1U-45  สามารถทนแล้งได้ดีพอสมควร  อายุเบา เก็บเกี่ยวได้เร็วมีคุณภาพการหุงต้ม นุ่ม มีกลิ่นหอม  มีคุณภาพการสีดี เมล็ดข้าวสารใส แกร่ง  และเรียวยาวนวดง่าย  ต้านทานต่อโรคใบจุด         สีน้ำตาลแต่มีข้อควรระวังคือ  ไม่ต้านทานแมลงบั่ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและหนอนกอ  ล้มง่าย         ฟางอ่อน เมล็ดร่วงง่ายไม่เหมาะกับนาลุ่ม ซึ่งระบายน้ำไม่ได้ เพราะข้าวจะสุกในระยะที่น้ำยังขังอยู่ในนาทำให้เก็บเกี่ยวลำบากเหมาะที่จะปลูกในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กรมการข้าว, ม.ป.ป.)  หลังจากคัดพันธุ์ดีมาปลูกแล้ว ต่อไปก็เป็นขั้นตอนดูแลเพื่อให้ได้เมล็ดที่สมบูรณ์
 
ภาพที่  2  ลักษณะเมล็ดพันธุ์ข้าว
                การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว  ควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้มาตรฐาน  ผลิตจากแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวแบบเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการดูแลอย่างดี  มีความงอกและความแข็งแรง  ผ่านการเก็บรักษาโดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ ปราศจากโรค แมลงและเมล็ดวัชพืช หากจำเป็นต้องป้องกันโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์อนุโลมให้นำมาแช่ในสารละลายจุนสี (จุนสี 1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) เป็นเวลานาน 20 ชั่วโมง แล้วล้างด้วยน้ำก่อนนำไปปลูก
 
ภาพที่  3  การเพาะเมล็ดพันธุ์ข้าว
  
ภาพที่  4  การเพาะกล้า
 
 
 ภาพที่  5  การเตรียมแปลง
 
การเตรียมดินและการปลูก
                เมื่อไถคราด  ทำเทือก  ควบคุมระดับน้ำในนา  เพื่อลดปริมาณวัชพืช  แล้วปลูกกล้าลงดิน  จะช่วยให้ข้าวสามารถต่อสู้กับวัชพืชได้  ต้นกล้าที่ใช้ปักดำควรมีอายุประมาณ  30  วัน  เลือกต้นกล้าที่แข็งแรง  ปักดำระยะถี่กว่าข้าวโดยทั่วไป  คือ  ระยะระหว่างต้นและแถว  ประมาณ  20  เซนติเมตร  จำนวนต้นกล้า  3-5  ต้นต่อกอ  แต่ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำก็ให้ปลูกระยะถี่กว่านี้  ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องแรงงานในการปักดำ  อาจหว่านข้าวแห้ง  หรือหว่านน้ำตมได้
 
ภาพที่  6  การไถเตรียมดิน
 
ภาพที่  7  ถอนกล้า

 ภาพที่ 8  การดำนา

 ภาพที่ 9  หว่านข้าวงอก/(หว่านน้ำตม)
ภาพที่  10  หว่านข้าวแห้งคลุมฟาง
การดูแลรักษา
                ข้าวอินทรีย์  ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี  ดังนั้น ปุ๋ยอินทรีย์จึงจำเป็นอย่างมาก  เกษตรกรสามารถปลูกพืชบำรุงดิน  เช่น  ถั่วเขียว  ถั่วพร้า  โสน  ก่อนการปลูกข้าวแล้วไถกลบ  หรือปลูกพืชบำรุงดินหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว  นอกเหนือจากการไถกลบพืชบำรุงดินแล้ว  จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยคอก ได้แก่ มูลสัตว์ต่าง ๆ  ที่เลี้ยงในไร่นา  โดยปล่อยสัตว์เหล่านั้น  หากินในนา  ถ่ายมูลลงนาปะปนกับซากพืช
                นอกจากนี้  อาจทำปุ๋ยหมักในบริเวณใกล้เคียงไร่นาเพิ่มเป็นการเติมปุ๋ยให้กับนาข้าวได้สะดวก
                แหล่งน้ำสำหรับนา  เกษตรกรจะมีการขุดสระน้ำ  เนื้อที่ประมาณ  5  ไร่  และโดยรอบจะเป็นคูน้ำเพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ
 
การจัดการศัตรูข้าว
                วัชพืช  นับเป็นศัตรูข้าวที่สำคัญ  เนื่องจากวัชพืชถ้าเกิดขึ้นมาพร้อมกับข้าว  จะทำให้ข้าวชะงักการเจริญเติบโต  คุณภาพไม่ดี  ซึ่งการทำเทือก  ที่รักษาระดับน้ำให้คงที่เพื่อฆ่าวัชพืชก่อนปลูกนับเป็นวิธีกำจัดวัชพืชที่ดี  นอกเหนือจากการไถคราด  เมื่อพบวัชพืชในนาหลังปลูกข้าวแล้วต้องถอนกำจัด 
แมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ
   ระยะกล้า             
1.  เพลี้ยไฟข้าว  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Stenchaetohrips biformis (Bagnall)  ข้าวในระยะกล้าจะมีเพลี้ยไฟมาดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณปลายใบ  ปลายใบจะแห้ง  เกษตรกรต้องหมั่นตรวจแปลงเพาะกล้า   ถ้าพบอากาศร้อนอบอ้าว  ให้ฉีดพ่นน้ำแปลงกล้าให้ชื้น  เพื่อป้องกันไม่ให้เพลี้ยไฟเข้าทำลาย
 
http://www.brrd.in.th/rkb/data_005/image_bug_animal/bug_016.jpg
ภาพที่  11  ใบข้าวที่แสดงอาการปลายใบแห้ง



 
 

   




ภาพที่  12  ลักษณะการทำลายของเพลี้ยไฟ                ภาพที่  13  สภาพนาข้าวที่เพลี้ยไฟระบาดรุนแรง
 2.  หนอนกระทู้กล้า   มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Spodoptera mauritia (Boisduval)  เป็นผีเสื้อกลางคืนปีกคู่หน้าสีเทาปนน้ำตาล  ความกว้างของปีกกลางออกประมาณ 3.5-4 เซนติเมตร ปีกคู่หลัง      สีขาว บินเก่งสามารถอพยพได้ไกลเป็นระยะทางหลายสิบ หรือหลายร้อยกิโลเมตร  วางไข่เป็นกลุ่มบริเวณยอดอ่อนของข้าว ตัวหนอนมีสีเทาถึงเขียวแกมดำ ด้านหลังมีลายตามความยาวของลำตัวจากหัวจรดท้าย  แต่ละปล้องมีจุดสีดำ   ตัวหนอนฟักจากไข่ช่วงเช้าตรู่ และรวมกลุ่มกันกัดกินส่วนปลายใบข้าว กลางวันจะหลบอยู่ในดินใต้เศษใบพืช  ในพื้นนาที่แห้ง บางส่วนอยู่บนต้นข้าวส่วนที่อยู่เหนือน้ำในนาที่ลุ่ม  ชอบเข้าดักแด้ในดินหรือบนต้นหญ้าตามขอบแปลง ตัวหนอนโตเต็มที่ยาวประมาณ  3.5-4 มิลลิเมตร กว้าง 5-6 มิลลิเมตร  ชีพจักรจะแตกต่างกันตามพื้นที่ระบาด
ลักษณะการทำลาย
                โดยทั่วไปหนอนจะทำลายข้าวในเวลากลางคืน  หนอนระยะแรกจะกัดกินผิวข้าว  เมื่อโตขึ้นจะกัดกินทั้งใบ และต้นข้าวเหลือไว้แต่ก้านใบ  ตัวหนอนจะกัดกินต้นกล้าระดับพื้นดิน  นาข้าวจะถูกทำลายแหว่งเป็นหย่อม ๆ  และอาจเสียหายได้ภายใน 1-2 วัน   ความเสียหายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หนอนมีการเคลื่อนย้ายเป็นกลุ่มคล้ายกองทัพ จากการขยายพันธุ์หลาย ๆ รุ่นบนวัชพืชพวกหญ้า และเคลื่อนเข้าสู่แปลงกล้าและนาข้าวจากแปลงหนึ่งไปยังอีกแปลงหนึ่ง  มักพบระบาดในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะหลังจากผ่านช่วงแล้งที่ยาวนาน แล้วตามด้วยฝนตกหนัก การระบาดจะรุนแรงเป็นบางปี บางพื้นที่
การจัดการโรค
กำจัดวัชพืชตามคันนาหรือบริเวณใกล้เคียงเพื่อทำลายแหล่งอาศัย

ระยะแตกกอ
1.  หนอนกอข้าว  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Scirpophaga incertulas  (Walker)  หนอนกอทำลายข้าวตั้งแต่ข้าวเล็กจนถึงระยะข้าวออกรวง  โดยหลังหนอนฟักจากไข่จะเจาะเข้าทำลายกาบใบก่อน ทำให้กาบใบมีสีเหลืองหรือน้ำตาล ซึ่งจะเห็นเป็นอาการช้ำ ๆ  เมื่อฉีกกาบใบดูจะพบตัวหนอน เมื่อหนอนโตขึ้นจะเข้ากัดกินส่วนของลำต้น ทำให้เกิดอาการใบเหี่ยวในระยะแรก ใบและยอดที่ถูกทำลายจะเหลืองในระยะต่อมา ซึ่งการทำลายในระยะข้าวแตกกอนี้ทำให้เกิดอาการ “ยอดเหี่ยว”  ถ้าหนอนเข้าทำลายในระยะข้าวตั้งท้องหรือหลังจากข้าวออกรวงจะทำให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาวเรียกอาการนี้ว่า“ข้าวหัวหงอก
http://www.brrd.in.th/rkb/data_005/image_bug_animal/bug_017.jpg


ภาพที่  14  ต้นข้าวยอดเหี่ยว  เนื่องจากหนอนกอข้าว   ภาพที่  15  ข้าวหัวหงอก เนื่องจากหนอนกอข้าว


 
ภาพที่  16  ลักษณะการทำลาย ของหนอนกอข้าว  ระยะแตกกอทำให้ยอดเหี่ยว  ระยะออกรวงทำให้
                      รวงข้าวสีขาวเมล็ดลีบ

ลักษณะการทำลาย
หนอนกอข้าวทั้ง 4 ชนิด ทำลายข้าวลักษณะเดียวกันโดยหลังหนอนฟักจากไข่จะเจาะเข้าทำลายกาบใบก่อน ทำให้กาบใบมีสีเหลืองหรือน้ำตาล ซึ่งจะเห็นเป็นอาการช้ำๆ เมื่อฉีกกาบใบดูจะพบ           ตัวหนอน เมื่อหนอนโตขึ้นจะเข้ากัดกินส่วนของลำต้น ทำให้เกิดอาการใบเหี่ยวในระยะแรก ใบและยอดที่ถูกทำลายจะเหลืองในระยะต่อมา ซึ่งการทำลายในระยะข้าวแตกกอนี้ทำให้เกิดอาการ “ยอดเหี่ยว” (deadheart) ถ้าหนอนเข้าทำลายในระยะข้าวตั้งท้องหรือหลังจากข้าวออกรวงจะทำให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาวเรียกอาการนี้ว่า“ข้าวหัวหงอก” (whitehead)

2.  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล   ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nilaparvata lugens (Stal)    ชนิดปีกยาว (macropterous form)  และชนิดปีกสั้น (bracrypterous form) ชนิดมีปีกยาวสามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกล โดยอาศัยกระแสลมช่วย ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ โดยวางไข่เป็นกลุ่ม เรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อน 16-17 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาวมีขนาด 4-4.5 มิลลิเมตร วางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศผู้มีขนาด 3.5-4 มิลลิเมตร เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ในหนึ่งฤดูปลูกข้าวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัย (generation)
ลักษณะการทำลาย
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ท่อน้ำท่ออาหาร บริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวกแห้งตายเป็นหย่อม ๆ  เรียก  "อาการไหม้"  (hopperburn) โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวงซึ่ง ตรงกับช่วงอายุขัยที่ 2 – 3  (generation) ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวนาข้าวที่ขาดน้ำ ตัวอ่อนจะลงมาอยู่ที่บริเวณโคนกอข้าวหรือบนพื้นดินที่แฉะมีความชื้น นอกจากนี้   เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส โรคใบหงิก  (rice raggedstunt)  มาสู่ต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็นต้นเตี้ยใบสีเขียวแคบและสั้น  ใบแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว และ ขอบใบแหว่งวิ่น

3.  เพลี้ยจักจั่นสีเขียว   ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nephotettix virescens(Distant)   เพลี้ยจักจั่นสีเขียวเป็นแมลงจำพวกปากดูด ที่พบทำลายข้าวในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือNephotettix virescens (Distant) และ Nephotettix nigropictus (Stal) ตัวเต็มวัยของแมลงทั้ง 2 ชนิดมีสีเขียวอ่อนและอาจมีแต้มดำบนหัวหรือปีก ขนาดลำตัวยาวไม่แตกต่างกัน ต่างกันตรงที่ N. nigropictus (Stal) มีขีดดำพาดตามความยาวของขอบหน้าผากระหว่างตาทั้ง 2 ข้าง แต่ N. virescens (Distant) ไม่มี ตัวเต็มวัยไม่มีชนิดปีกสั้น เคลื่อนย้ายรวดเร็วเมื่อถูกรบกวน  สามารถบินได้เป็นระยะทางไกลหลายกิโลเมตร  ชอบบินมาเล่นไฟตอนกลางคืน โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม เพศเมียวางไข่ในกาบใบข้าว วางไข่เป็นกลุ่ม 8-16 ฟอง ไข่วางใหม่ ๆ  มีสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ต่อมากลายเป็นสีน้ำตาลและมีจุดสีแดง  ระยะไข่นาน 5-8 วัน ตัวอ่อนมีสีเหลืองหรือสีเขียวอ่อน  ตัวอ่อนมี 5 ระยะ  ระยะตัวอ่อนนาน 14-15 วัน ระยะตัวเต็มวัยประมาณ 10 วัน
ลักษณะการทำลาย
เพลี้ยจักจั่นสีเขียวอพยพเข้าแปลงข้าวทันทีหลังจากเป็นต้นกล้า และมีปริมาณมากที่สุดในช่วงการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ   ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและลำต้นข้าว ทำให้ข้าวชะงักการเจริญเติบโตและอาจแห้งตายได้ถ้ามีปริมาณมาก และเป็นแมลงพาหะนำโรคใบสีส้ม (yellow orange leaf virus) มาสู่ข้าว  ทำให้ต้นข้าวแคระแกร็น ใบเหลือง ข้าวออกรวงไม่สม่ำเสมอ เมล็ดลีบ      โดยปกติอาศัยอยู่ส่วนบนของต้นข้าวในตอนเข้า และย้ายลงมาด้านล่างของต้นข้าวในตอนบ่าย  ตัวเต็มวัยและตัวอ่อนจะแพร่กระจายออกไปไม่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม  โดยทั่วไปจึงไม่พบจำนวนประชากรมากถึงระดับทำให้ข้าวแห้งตายได้  ฤดูกาลปลูกข้าวครั้งหนึ่งเพลี้ยจักจั่นสามารถดำรงชีวิตได้ 3-4 ชั่วอายุ ตัวเต็มวัยสามารถดักจับได้จากกับดักแสงไฟ  มักพบระบาดในฤดูฝนที่สภาพต้นข้าวเจริญดีเหมาะต่อการขยายพันธุ์
ศัตรูของข้าว พบในข้าวนาปีมากกว่านาปรัง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าว และเป็นแมลงพาหะนำโรคใบสีส้มมาสู่ข้าว
พืชอาหาร  ข้าว หญ้าข้าวนก หญ้าไซ ข้าวป่า
การจัดการ  ทำได้โดย
1). ใช้แสงไฟล่อแมลงและทำลายเมื่อมีการระบาดรุนแรง
2). ปลูกข้าวพร้อม ๆ กัน และปล่อยพื้นนาว่างไว้ระยะหนึ่ง เพื่อตัดวงจรชีวิตของแมลง
3). ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทาน กข4 กข9 กข21 กข23 สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 พิษณุโลก 2    ชุมแพ 60  เก้ารวง 88  แก่นจันทร์  นางพญา 132 พวงไร่

4.  แมลงหล่า  ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scotinophara coarctata(Fabricius)  เป็นมวนชนิดหนึ่ง มีลักษณะค่อนข้างกลมคล้ายโล่ห์ ด้านหัวและอกเป็นรูปสามเหลี่ยม ลำตัวมีสีน้ำตาลหรือดำเป็นมันวาว ยาว 7-8 มิลลิเมตร กว้าง 4-5 มิลลิเมตร เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ชอบอาศัยรวมกลุ่มที่โคนต้นข้าวเหนือระดับน้ำในตอนกลางวัน ส่วนกลางคืนจะเคลื่อนย้ายขึ้นบนต้นข้าว เพศเมียวางไข่ประมาณ 200 ฟอง โดยวางไข่เป็นกลุ่ม จำนวน 20-26 ฟองต่อกลุ่ม เรียงเป็นแถวขนานกัน วางไข่ที่ใบข้าวหรือกาบใบบริเวณโคนต้นข้าวใกล้ระดับผิวน้ำ หรือบางครั้งอาจจะวางบนพื้นดิน ไข่มีสีชมพูแกมเขียว ระยะไข่ 4-6 วัน ตัวอ่อนมี 6 ระยะ ตัวอ่อนมีสีน้ำตาลและสีเหลืองกับจุดสีดำ ระยะตัวอ่อน 20-30 วัน ตัวอ่อนมีพฤติกรรมเหมือนตัวเต็มวัย คือหลบซ่อนอยู่ที่โคนต้นข้าวหรือตามรอยแตกของพื้นดินในตอนกลางวันและหากินในตอนกลางคืน ตัวเต็มวัยมีอายุนานถึง 214 วัน อยู่ข้ามฤดูหนาวหรือฤดูแล้ง โดยฟักตัวอยู่ในร่องระแหงดินในที่มีหญ้าขึ้น เมื่อสภาพภูมิอากาศเหมาะสมจะบินเข้าแปลงนา และขยายพันธุ์หลายรุ่น มีการพักตัวหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ตัวเต็มวัยสามารถอพยพได้ระยะทางไกลๆ
ลักษณะการทำลาย
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นข้าว ทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเหลือง ขอบใบข้าวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำคล้ายข้าวเป็นโรคไหม้ ตามข้อของลำต้นข้าวเป็นบริเวณที่แมลงหล่าชอบเพราะเป็นแหล่งที่มีน้ำเลี้ยงมาก การทำลายในระยะข้าวแตกกอทำให้ต้นข้าวที่อยู่กลาง ๆ กอข้าวมีอาการแคระแกรน มีสีเหลืองหรือเหลืองแกมน้ำตาล และการแตกกอลดลง     ถ้าทำลายหลังระยะข้าวตั้งท้องทำให้รวงข้าวแกรน ออกรวงไม่สม่ำเสมอและรวงข้าวมีเมล็ดลีบ ต้นข้าวอาจเหี่ยวตายได้ ถ้ามีแมลงจำนวนมากทำให้ต้นข้าวแห้งไหม้คล้ายกับถูกเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทำลาย แมลงหล่าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโต แต่มักพบทำลายในช่วงข้าวแตกกอเต็มที่ถึงเก็บเกี่ยว
พืชอาหาร  ข้าวป่า หญ้าชันกาด ข้าวโพด
การจัดการ  ทำได้โดย
1) ใช้แสงไฟฟ้าล่อแมลงและทำลายในช่วงที่มีการระบาด เนื่องจากแมลงหล่าชอบบินมาเล่นแสงไฟเวลากลางคืน
2) ปลูกข้าวที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นเพื่อลดการเพิ่มประชากรในนาข้าว
3 ) กำจัดวัชพืชที่ขึ้นหนาแน่นในนาข้าว เพื่อให้นาข้าวโปร่ง แสงแดดส่องถึงโคนต้นข้าว ทำให้สภาพนาข้าวไม่เหมาะแก่การอยู่อาศัยของแมลงหล่า

5.  หนอนห่อใบข้าว  ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Cnaphalocrocis medinalis (Guenee)  ตัว เต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน  ปีกสีน้ำตาลเหลืองมีแถบสีดำพาดที่ปลายปีก ตรงกลางปีกมีแถบสีน้ำตาลพาดขวาง    2-3 แถบ ขณะเกาะใบข้าวปีกจะหุบเป็นรูปสามเหลี่ยม มักเกาะอยู่ในที่ร่มใต้ใบข้าว เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมียเล็กน้อย  เพศเมียวางไข่เวลากลางคืนประมาณ 300 ฟองบนใบข้าว ขนานตามแนวเส้นกลางใบและสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ไข่มีลักษณะเป็นรูปจานสีขาวขุ่นเป็นกลุ่ม ประมาณ 10-12 ฟอง บางครั้งวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ระยะไข่ 4-6 วัน หนอนที่ฟักจากไข่ใหม่ๆ มีสีขาวใส หัวมีสีน้ำตาลอ่อน หนอนโตเต็มที่มีสีเขียวแถบเหลือง หัวสีน้ำตาลเข้ม หนอนโตเต็มที่จะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเมื่อถูกสัมผัส หนอนมี 5-6 ระยะ ส่วนใหญ่มี 5 ระยะ หนอนวัยที่ 5 เป็นวัยที่กินใบข้าวได้มากที่สุด ระยะหนอน 15-17 วัน หนอนเข้าดักแด้ในใบข้าวที่ห่อตัวนั้น  ระยะดักแด้ 4-8 วัน ตัวเต็มวัยจะหลบซ่อนบนต้นข้าวและวัชพืชตระกูลหญ้าในเวลากลางวัน และจะบินหนีเมื่อถูกรบกวน
ลักษณะการทำลาย
        ผีเสื้อหนอนห่อใบข้าวจะเคลื่อนย้ายเข้าแปลงนา ตั้งแต่ข้าวยังเล็กและวางไข่ที่ใบอ่อน โดยเฉพาะใบที่ 1-2 จากยอด เมื่อตัวหนอนฟักออกมาจะแทะผิวใบข้าวส่วนที่เป็นสีเขียว ทำให้เห็นเป็นแถบยาวสีขาว มีผลให้การสังเคราะห์แสงลดลง หนอนจะใช้ใยเหนียวที่สกัดจากปาก ดึงขอบใบข้าวทั้งสองด้านเข้าหากันเพื่อห่อหุ้มตัวหนอนไว้หนอนจะทำลายใบข้าว ทุกระยะการเจริญเติบโตของข้าวถ้าหนอนมีปริมาณมากจะใช้ใบข้าวหลายๆ ใบมาห่อหุ้มและกัดกินอยู่ภายใน ซึ่งปรกติจะพบตัวหนอนเพียงตัวเดียวในใบห่อนั้น ในระยะข้าวออกรวงหนอนจะทำลายใบธงซึ่งมีผลต่อผลผลิตเพราะทำให้ข้าวมีเมล็ดลีบ น้ำหนักลดลง หนอนห่อใบสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัยต่อฤดูปลูก พบระบาดในนาเขตชลประทาน โดยเฉพาะแปลงข้าวที่ใส่ปุ๋ยอัตราสูง หนอนใช้ใบข้าวห่อหุ้มตัวและกัดกินอยู่ภายใน บริเวณที่ถูกทำลายจะเป็นทางขาวยาวขนานกับเส้นกลางใบ ทำให้การสังเคราะห์แสงของต้นข้าวลดลง

พืชอาหาร
        ข้าว ข้าวป่า ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย หญ้าข้าวนก หญ้าคา หญ้าชันกาด หญ้าไซ หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก หญ้าปล้องหิน หญ้าตีนติด
การจัดการ  ทำได้โดย
1) ในพื้นที่ที่มีการระบาดเป็นประจำควรปลูกข้าว 2 พันธุ์ขึ้นไป โดยปลูกสลับพันธุ์กัน จะช่วยลดความรุนแรงของการระบาด
2) กำจัดพืชอาศัย เช่น หญ้าข้าวนก หญ้านกสีชมพู หญ้าปล้อง หญ้าไซ หญ้าชันกาด และข้าวป่า
ระยะออกรวง
1.  แมลงสิง  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า   Leptocorisa acuta (Thunberg)   เป็นมวนชนิดหนึ่ง      
 ตัวเต็มวัยมีรูปร่างเพรียวยาวประมาณ 15 มิลลิเมตร  หนวดยาวใกล้เคียงกับลำตัว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่างสีเขียว เมื่อถูกรบกวนจะบินหนี และปล่อยกลิ่นเหม็นออกจากต่อมที่ส่วนท้อง  ตัวเต็มวัยจะออกหากินช่วงบ่าย ๆ และช่วงเช้ามืด และเกาะพักที่หญ้าขณะที่มีแสงแดดจัด เพศเมียวางไข่ได้หลายร้อยฟองในช่วงชีวิตประมาณ 2-3 เดือน วางไข่เป็นกลุ่มมี 10-12 ฟอง เรียงเป็นแถวตรงบนใบข้าวขนานกับเส้นกลางใบ ไข่มีสีน้ำตาลแดงเข้ม รูปร่างคล้ายจาน  ระยะไข่นาน 7 วัน  ตัวอ่อนมีสีเขียวแกมน้ำตาลอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวก่อน ต่อมาเป็นตัวเต็มวัยจะเข้าทำลายเมล็ดข้าวในระยะข้าวเป็นน้ำนมจนถึงออกรวง  ตัวอ่อนมี 5 ระยะ
ลักษณะการทำลาย
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยใช้ปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากเมล็ดข้าว ระยะเป็นน้ำนม แต่ก็สามารถดูดกินเมล็ดข้าวทั้งเมล็ดอ่อนและเมล็ดแข็งโดยตัวเต็มวัยจะทำความเสียหายมากกว่า เพราะดูดกินเป็นเวลานานกว่าทำให้เมล็ดลีบ หรือเมล็ดไม่สมบูรณ์และผลผลิตข้าวลดลง  การดูดกินของแมลงสิงไม่ทำให้เป็นรูบนเปลือกของเมล็ดเหมือนมวนชนิดอื่นโดยปากจะเจาะผ่านช่องว่างระหว่างเปลือกเล็กและเปลือกใหญ่ของเมล็ดข้าว ความเสียหายจากการทำลายของแมลงสิงทำให้ข้าวเสียคุณภาพมากกว่า  ทำให้น้ำหนักเมล็ดลดลง โดยเมล็ดข้าวที่ถูกแมลงสิงทำลาย เมื่อนำไปสีจะแตกหักง่าย แมลงสิงเริ่มพบในต้นฤดูฝน และเจริญเติบโต ขยายพันธุ์ 1-2 รุ่นบนพืชอาศัยพวกวัชพืชตระกูลหญ้า  ก่อนที่จะอพยพเข้ามาในแปลงนาข้าวช่วงระยะข้าวออกดอก  แมลงสิงพบได้ทุกสภาพแวดล้อม แต่พบมากในนาน้ำฝนและ              ข้าวไร่  สภาพที่เหมาะต่อการระบาดคือ นาข้าวที่อยู่ใกล้ชายป่า มีวัชพืชมากใกล้นาข้าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น