วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

 
           ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน และสร้างฮอร์โมนส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 4 สายพันธุ์
 
จุลินทรีย์ที่อยู่อย่างอิสระในดิน สามารถตรึงไนโตรเจนในอากาศเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแอมโมเนียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ได้แก่ Azotobacter chroococcum
จุลินทรีย์ที่สามารถผลิตกรดอินทรีย์ปลดปล่อยออกมาละลายสารประกอบอนินทรีย์ฟอสเฟต ให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถดูดใช้ได้
จุลินทรีย์ที่ปลดปล่อยกรดอินทรีย์ช่วยละลายแร่ธาตุที่มีโพแทสเซียมเป็นองค์ประกอบ ให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ได้แก่ Bacillus megaterium
จุลินทรีย์ที่สร้างฮอร์โมนให้พืช ช่วยกระตุ้นการเจริญของรากและส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นพืช
จุดเด่นของปุ๋ยชีวภาพ พด.12
 
เพิ่มไนโตรเจน
เพิ่มการละลายได้ของหินฟอสเฟต 15 - 45 เปอร์เซ็นต์
เพิ่มการละลายได้ของโพแทสเซียมเฟลด์สปาร์ 10 เปอร์เซ็นต์
สร้างฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตของราก และต้นพืช
เพิ่มประสิทธิภาพการดูดใช้ธาตุอาหารของพืช
 
วิธีการขยายเชื้อปุ๋ยชีวภาพ พด.12
 วัสดุสำหรับขยายเชื้อปุ๋ยชีวภาพ
 
ปุ๋ยหมัก300กิโลกรัม
รำข้าว3กิโลกรัม
ปุ๋ยชีวภาพ พด.12100 กรัม(1 ซอง)
 
 วิธีการขยายเชื้อ
 
ผสมปุ๋ยชีวภาพ พด.12 และรำข้าวในน้ำ 1 ปี๊บ (20 ลิตร) คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
รดสารละลายปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ลงบนกองปุ๋ยหมักและคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปรับความชื้นให้ได้ 70 เปอร์เซ็นต์ โดยตรวจสอบความชื้นด้วยการกำปุ๋ยหมักเป็นก้อนและไม่มีน้ำไหลออกมา เมื่อคลายมือออกปุ๋ยหมักยังคงสภาพเป็นก้อนอยู่ได้
ตั้งกองปุ๋ยหมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้มีความสูง 50 เซนติเมตร และใช้วัสดุคลุมกองปุ๋ยเพื่อรักษาความชื้น
กองปุ๋ยหมักไว้ในที่ร่มเป็นระยะเวลา 4 วัน แล้วจึงนำไปใช้
 
อัตราและวิธีการใช้ปุ๋ยหมักที่ขยายเชื้อปุ๋ยชีวภาพ พด.12
 อัตราการใช้
 
ข้าว : ใช้ 300 กิโลกรัมต่อไร่
พืชไร่ พืชผัก หญ้าอาหารสัตว์ : ใช้ 300 กิโลกรัมต่อไร่
ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น : ใช้ 3 - 5 กิโลกรัมต่อต้น
 
 วิธีการใช้
 
ข้าว : หว่านให้ทั่วพื้นที่ช่วงเตรียมดินปลูก
พืชไร่ พืชผัก หรือหญ้าอาหารสัตว์ : ใส่ระหว่างแถวตามแนวปลูกพืช แล้วคลุกเคล้ากับดิน
ไม้ผลหรือไม้ยืนต้น
เตรียมหลุมปลูก
:
ใส่โดยคลุกเคล้ากับดิน รองไว้ก้นหลุม
พืชที่เจริญแล้ว
:
ใส่รอบทรงพุ่มหรือหว่านให้ทั่วภายใต้ทรงพุ่ม
 
ประโยชน์ของปุ๋ยชีวภาพ
 
ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ 25 - 30 เปอร์เซ็นต์
เพิ่มความเป็นประโยชน์ของฟอรสฟอรัส และโพแทสเซียมในดิน
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย
ช่วยสร้างความสมดุลของธาตุอาหารพืชในพิน ทำให้รากพืชดูดใช้ได้ดีขึ้น
ใช้ปริมาณน้อย ราคาถูก ลดต้นทุน และช่วยเพิ่มผลผลิตพืช
 
 คำแนะนำ
 
ควรปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์
หลีกเลี่ยงการเผาตอซังพืช เพราะจะทำลายจุลินทรีย์ปุ๋ยชีวภาพ พด.12 ที่ใส่ลงไปในดิน รวมทั้งเป็นการทำลายอินทรีย์วัตถุซึ่งเป็นแหล่งอาหารและพลังงานของจุลินทรีย์
ปุ๋ยหมักที่ใช้ขยายเชื้อปุ๋ยชีวภาพต้องเป็นปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์แล้ว
เก็บปุ๋ยชีวภาพ พด.12 หรือปุ๋ยหมักที่ขยายเชื้อ พด.12 ในที่ร่ม


ที่มา: 
http://www.organictotto.com/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=1&Id=538835868