วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

 ใช้ชีววีธีควบคุมโรคในผลไม้
ดังนั้น ทางสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำโดย ดร. อนวัช สุวรรณกุล ผอ. ฝ่ายเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว จึงได้จัดทำโครงการ วิจัยพัฒนาการควบคุมโรคเน่าผลไม้เขตร้อนด้วยชีววิธี
                ดร. นงลักษณ์ ปานเกิดดี ผู้ว่าการ วว. เปิดเผยว่า โครงการพัฒนาการควบคุมโรคเน่าผลไม้เขตร้อนด้วยชีววิธีเป็นหนึ่งในงานวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลพืชสวน ที่สถาบันมุ่งวิจัยเพื่อยกระดับให้ผลิตผลมีศักยภาพสูงในด้านการส่งออกมากยิ่งกว่าที่ผ่านมา อีกทั้งเพื่อให้ผลไม้ไทยเป็นที่ยอมรับและยังคงส่งออกอยู่ในอันดับต้นในตลาดโลก
                ที่สำคัญ! เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศปลายทางที่เราส่งผลิตผลทางการเกษตรไปจำหน่าย...
                ด้าน ดร. อนวัช เผยถึงแนวทางการวิจัยดังกล่าวว่า เริ่มแรกการคัดเลือกสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่มีศักยภาพ ในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคเน่าของผลไม้เขตร้อนหลังการเก็บเกี่ยว กระทั่งได้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในกลุ่มของแบคทีเรีย ยีสต์ และราจากแหล่งธรรมชาติ รวม 21 สายพันธุ์
                จากนั้นนำมาเลี้ยงตามขบวนการในห้องแล็บ ผลที่ได้พบว่า สายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของ รา ซึ่งเป็นสาเหตุโรคพืช ได้แก่ ยีสต์ Pichia tannicola P.kudriavzevii 2147, แบคทีเรีย Bacillus subtillis TISTR8, B.amyloliquifaciens UPT 14 และ PUT 19 และรา Trichoderma harzianum และ T. pseudodonigii
                และ... จุลินทรีย์ทั้ง 3 กลุ่ม จะมีกลไกการควบคุมราสาเหตุโรคแตกต่างกัน โดยยีสต์และรานั้นควบคุมจุลินทรีย์สาเหตุโรคด้วยการครอบครองพื้นที่ ส่วนแบคทีเรียจะปล่อยสารปฏิชีวนะบางชนิดลงในอาหารทำให้มีผลต่อการเจริญของราอันเป็นสาเหตุของโรคเน่า
                นำมะม่วงสายพันธุ์น้ำดอกไม้ และพันธุ์โชคอนันต์ ซึ่งสายพันธุ์ดังกล่าวมักเป็นโรคแอนแทรกโนส (โรคเน่าในแอบแผง) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มโดยกลุ่ม 1 นำสารที่สกัดได้จากแบคทีเรีย Bacillus subtillis TISTR8, B.amyloliquifaciens PUT 14 และ PUT 19 ผสมกับสารเคลือบผิวแล้วนำไปเคลือบผิวผลมะม่วง นำไปเก็บที่อุณหภูมิห้องนาน 10 วัน
                ผลที่ได้พบว่า ชุดการทดลองที่ไม่ได้เคลือบผิวเป็นโรคอย่างรุนแรง คล้ายคลึงกับชุดที่เคลือบสารเพียงอย่างเดียวในขณะที่ชุดที่เคลือบผิวด้วยสารเคลือบผสมกับสารเคมีสังเคราะห์ และสารเคลือบผิวที่ผสมกับสารสกัดจากแบคทีเรีย ให้ผลในการควบคุมโรคได้ดีกว่า
                การใช้ชีววิธีดังกล่าวแก้ปัญหาโรคเน่าในมะม่วง จะเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยให้ไทยสามารถครองอันดับการส่งออกให้อยู่ที่ได้อีกนานทีเดียว

ที่มา : เพ็ญพิชญา เตียว. ไทยรัฐ. ปีที่ 57 ฉบับที่ 17,667 วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน 2549 หน้า 7.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น