วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555




"เห็ดบด" หรือในภาคกลางเรียกกันว่า "เห็ดกระด้าง" ส่วนในภาคเหนือจะเรียกว่า "เห็ดลม" เป็นเห็ดพื้นเมืองที่มีรสชาติดี ธรรมชาติของเห็ดชนิดนี้ มักพบเกิดบนขอนไม้ล้มในตระกูลไม้เต็งรัง หรือไม้ใบกว้าง ดอกเห็ดอาจเป็นดอกเดี่ยว หรือเกิดเป็นดอกซ้อนก็ได้ ปัจจุบันมีการนำเชื้อเห็ดบดมาเพาะเป็นการค้าได้แล้ว โดยส่วนมากจะเพาะเป็นเห็ดถุง ใช้ขี้เลื่อยจากไม้ยางพาราเป็นวัสดุหลักในการเพาะ เห็ดชนิดนี้จะออกดอกได้ดีในอุณหภูมิสูงประมาณ 35-40 องศาเซลเซียส ดังนั้นในช่วงฤดูหนาวเห็ดชนิดนี้จึงไม่ค่อยออกดอก และมีราคาค่อนข้างแพง

ลักษณะดอกเห็ดบด โคนก้านดอกใหญ่กว่าด้านบน หมวกเห็ดบดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-10 เซนติเมตร ผิวหมวกเห็ดมีขนละเอียดสีน้ำตาล ดอกอ่อนจะนิ่ม แต่เมื่อแก่จะค่อนข้างเหนียวและแข็ง สามารถถนอมเก็บเป็นเห็ดตากแห้งไว้รับประทานได้ข้ามปี เมื่อนำไปปรุงอาหารจนสุก จะมีรสชาติคล้ายๆ เนื้อสัตว์ คือ มีความกรุบเหนียว และลื่นลิ้น จึงสามารถใช้แทนเนื้อสัตว์ได้

สมุนไพรไล่แมลง


สมุนไพรป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช

รวบรวมมาไว้เป็นแนวทางคร่าวๆ ให้ไปปรับใช้กันเอง
สมุนไพรป้องกันกำจัดหนอน
ต้น ส้มเช้า เถาวัลย์ยาง เปลือกต้นไกรทอง เถาขี้กาขาว เถาขี้กาแดง เปลือกต้นเข็มป่า ใบเข็มป่า เปลือกต้นจิกสวน เปลือกต้นจิกแล เถาบอระเพ็ด เปลือกต้นมังตาล ลูกมังตาล ใบยอ เมล็ดละหุ่ง เมล็ดสบู่ต้น ใบสบู่ต้น ใบสะเดา ผลสะเดา หางไหลขาว หางไหลแดง หัวหนอนตายหยาก เมล็ดมันแกว มะลิป่า ใบเลี่ยน ใบควินิน ลูกควินิน ใบมะเขือเทศ สาบเสือ ยาสูบ ยาฉุน ขมิ้นชัน พลูป่า ชะพลู กานพลู ใบหนามขี้แรด ฝักคูนแก่ ใบดาวเรือง ว่านน้ำ เทียนหยด หัวกลอย เครือบักแตก มุยเลือด ค้อแลน ตีนตั่งน้อย ส้มกบ ปลีขาว เกร็ดลิ้น ย่านลิเภา พวงพี่ เข็มขาว ทวดข่าบ้าน

สมุนไพรป้องกันกำจัดแมลง
สาบ เสือ โหระพา สะระแหน่ พริกไทย ข่าแก่ พริก ดีปลี ขมิ้นชัน ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง กระเทียม กระเพรา กระชาย ใบผกากรอง ใบดาวเรือง ยาสูบ ยาฉุน หางไหลขาว หางไหลแดง ใบมะเขือเทศ ขิง ใบน้อยหน่า ใบสบู่ต้น ลูกสบู่ต้น ใบยอ เถาบอระเพ็ด ใบมะระขี้นก เปลือกว่าน หางจระเข้ ว่านน้ำ เมล็ดโพธิ์ ดอกเฟื่องฟ้าสด กลีบดอกชบา ใบคำแสด เมล็ดแตงไทย ไพรีทรัม เปลือกมะม่วงหิมพานต์ ดอกลำโพง ลูกทุเรียนเทศ ใบเทียนหยด ลูกเทียนหยด

สมุนไพรกำจัดเชื้อโรค
สาบ เสือ ว่านน้ำ ใบมะเขือเทศ เปลือกมังคุด เปลือกเงาะ เปลือกต้นแค ลูกกล้วยอ่อน ลูกกระบูน ลูกเสม็ด ลูกครัก หน่อไม้สด รากหม่อน ยาสูบ เถาบอระเพ็ด ต้นแสยะ ต้นขาไก่ สะระแหน่ ลูกหมากสด พริก กระเทียม ใบมะละกอ ปัสสาวะได ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง ใบเทียนหยด ลูกเทียนหยด ใบมะรุม ลูกอินทนิลป่า ลูกตะโก กระเพรา ขึ้นฉ่าย กระชาย ขมิ้นชัน กานพลู ชะพลู เปลือกลูกมะม่วงหิมพานต์ ต้นกระดูกไก่ ใบยูคาลิปตัส หัวไพล เปลือกว่านหางจระเข้ ว่านไฟ ขมิ้นเครือ ภังคีน้อย หัวข่อ สิงไคต้น พะยอม รากรางดี แก่นคลี่ ดีปลีเชือก แก่นประดู่ เปลือกงวงกล้วย

.

สารสกัดสมุนไพรป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช

สะเดา : ส่วนที่ใช้ ผลแก่(สดหรือตากแห้ง/เฉพาะเมล็ดในหรือเมล็ดใน+เนื้อ+เปลือก) เมล็ดในสดแก่จัดมีสารออกฤทธิ์มากที่สุด ใบแก่มีสารออกฤทธิ์แต่น้อยกว่าเมล็ดมาก …… ผลสะเดา 1 กก. บดป่นแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช … ได้ผลดี หนอนกระทู้ผัก หนอนหนังเหนียว หนอนใยผัก หนอนคืบ หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนแก้ว หนอนบุ้ง หนอนหลอดหอม หนอนเจาะต้น/ยอด/ดอก หนอนหัวกะโหลก หนอนกอสีครีม หนอนลายจุดข้าวโพด/ข้าวฟ่าง หนอนม้วนใบข้าว หนอนกอข้าว หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ ด้วงเต่าฟักทอง ตั๊กแตน ไส้เดือนฝอย … ได้ผลปานกลาง หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนเจาะต้นกล้าถั่ว หนอนเจาะดอกกล้วยไม้ หนอนเจาะผลมะเขือ หนอนเจาะยอดคะน้า เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ หากระบาดมากๆ ให้ใช้สารเคมีกำจัดกวาดล้างก่อน หลังจากนั้นจึงควบคุมด้วยสารสะเดา … ได้ผลน้อย ด้วงปีกแข็งกัดกินใบ หมัดกระโดด มวนแดง มวนเขียว มวนหวาน …… ใบแก่สด/แห้ง ผสมดินหลุมปลูกป้องกันกำจัดแมลงใต้ดินได้ดี ใช้ใบแก่แห้งบดป่นผสมเมล็ดพันธุ์ในโรงเก็บ ป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชทำลายเมล็ดพันธุ์ได้ดี …… ใช้ส่วนเมล็ดแก่สด/แห้ง บุบพอแตกหว่านลงในนาก่อนกลบเทือกหรือหลังหว่านหรือหลังปักดำ อัตรา 5-8 กก./ไร่ ศัตรูพืช เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว หนอนกระทู้กล้า หนอนคอรวงข้าว หนอนกอข้าว เพลี้ยไฟ ตั๊กแตนข้าว …… ใช้กิ่งแก่สับเล็ก 1-2 นิ้ว บุบพอแตกหว่านลงนาหลังข้าวงอกหรือเริ่มโต อัตรา 3-5 กก./ไร่ ศัตรูพืช ปูนา หอยเชอรี่

สาบเสือ : ใช้ส่วนใบ/ต้นแก่แห้ง บดป่น 1 กก. แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. หรือต้ม 1 ชม.ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร ศัตรูพืช หนอนกระทู้ หนอนใย หนอนคืบ เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย

ยา สูบ ยาฉุน : (1) ใช้ส่วนต้นสดแก่จัด(แกนกลางมีสารมากที่สุด) และใบสดแก่ บดละเอียดหรือสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 48 ชม. หรือต้มพอเดือดแล้วปล่อยให้เย็น ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร … (2) ใช้ยาเส้นหรือยาฉุน 2 กก. ผสมน้ำ 100 ลิตร คนบ่อยๆ จนน้ำเป็นสีน้ำตาลไหม้ ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อล้วนๆ ไม่ต้องเจือจางน้ำ … (3) ยาฉุนหรือยาเส้น 1 กก. ผสมน้ำ 2 ลิตร ต้มจนเดือดนาน 30-60 นาที ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อที่ได้เจือจางน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช ด้วงหมัดผักกาด มวนหวาน หนอนกอข้าว หนอนกะหล่ำปลี หนอนผักกาด หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง ไรแดง ไรขาว ราสนิม ไวรัสโรคใบหงิก เชื้อรา ฉีดพ่นสารสกัดยาสูบยาฉุนในตอนเช้าอากาศปลอดโปร่งหรือตอนกลางวันอากาศขมุก ขมัวไม่มีแสงแดด ได้ผลดีกว่าฉีดพ่นตอนกลางวันแดดร้อนจัดหรือตอนเย็น

ยี่โถ : ใช้ส่วนดอก ใบแก่ ผลแก่(เปลือก+เมล็ด) รากแก่ บดละเอียดหรือสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 10 ลิตร นาน 48 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช ด้วงหรือมอดทำลายเมล็ดพันธุ์ หนอนกระทู้ผัก หนอนใยผัก หนอนคืบกะหล่ำ หนอนหลอดหอม หนอนหนังเหนียว หนอนม้วนใบ หนอนกัดใบ หนอนเจาะยอดเจาะดอก

หาง ไหล (โล่ติ๊น) : มี 2 ชนิด คือ หางไหลขาวเมื่อหมักแล้วได้หัวเชื้อสีขาวน้ำซาวข้าว หางไหลแดงเมื่อหมักแล้วได้หัวเชื้อสีแดง หางไหลแดงมีฤทธิ์ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชมากกว่าหางไหลขาว ทั้งสองชนิดมีฤทธิ์ในการทำลายสัตว์น้ำ รากมีสารออกฤทธิ์มากกว่าเถาหรือลำต้นแต่ที่ใบไม่มีและต้นอายุเกิน 2 ปีขึ้นไปจึงมีสารออกฤทธิ์ … ใช้ส่วนรากหรือเถาสับเล็กแล้วทุบ 1 กก. แช่น้ำ 30- 40 ลิตร นาน 3 วัน ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอนกระทู้ผัก หนอนกะหล่ำปลี หนอนผักกาด หนอนใยผัก หนอนหนังเหนียว หนอนหลอดหอม หนอนเจาะยอด/ดอก/ผล/ต้น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยศัตรูข้าว เพลี้ยแป้ง แมลงปากดูด/กัด แมลง/หนอนศัตรูฝ้าย

หนอน ตายหยาก : มี 2 ชนิด หนอนตายหยากตัวผู้(หัวเล็ก) และหนอนตายหยากตัวเมีย(หัวใหญ่) สารออกฤทธิ์อยู่ที่แกนกลางของหัว หนอนตายหยากตัวเมียมีสารมากกว่าตัวผู้ … ใช้หนอนตายหยากบดป่นหรือสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 48 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช เชื้อราสาเหตุโรคเน่าคอดิน หนอนกระทู้ หนอนต่างๆ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงศัตรูพืชในเงาะ/พริกไทย/ทุเรียน … โขลกละเอียดผสมน้ำปิดแผลสัตว์เลี้ยงป้องกันแมลงตอมวางไข่

บอระเพ็ด : ใช้เถาสดแก่จัดบดป่นหรือสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 10 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น หนอนกอ หนอนเจาะยอด หนอนกัดใบ โรคยอดเหี่ยว โรคข้าวตายพราย โรคเมล็ดข้าวลีบ … บอระเพ็ดเป็นสารดูดซึมซึ่งจะเข้าไปในเนื้อพืช ทำให้มีรสขมจนแมลงศัตรูพืชจำพวกปากกัดหรือปากดูดไม่ชอบกิน เช่น ใช้น้ำคั้นบอระเพ็ดคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนหยอดลงหลุมป้องกันแมลงใต้ดิน ใช้น้ำคั้นบอระเพ็ดฉีดพ่นโคนต้นข้าวบริเวณหนูกัดทำให้หนูไม่กัดต้นข้าว … หากต้องการถอนฤทธิ์รสขมบอระเพ็ดให้ฉีดพ่นลางจืด 1-2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 2 วัน

ใบมะเขือเทศ : ใช้ส่วนใบแก่สด บดละเอียด 2-3 กำมือแช่น้ำร้อน 1 ลิตร นาน 2 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อผสมน้ำ 1 เท่า ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอนกระทู้ หนอนใยผัก หนอนหนังเหนียว หนอนหลอดหอม หนอนเจาะต้น/ยอด/ดอก/ผล หนอนผีเสื้อกะโหลก หนอนกอ หนอนม้วนใบ หนอนชอนใบ หนอนแก้ว ราต่างๆ ไวรัส แบคทีเรีย

ดาว เรือง : ใช้ส่วนใบแก่สดและดอกสด บดป่นหรือสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอนใยผัก หนอนกระทู้ หนอนคืบ หนอนผีเสื้อกะโหลก เพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาว ไส้เดือนฝอย

กระเทียม : ใช้ส่วนหัวสดแก่ 1 กก. โขลกละเอียดแช่ในน้ำมันก๊าดหรือแอลกอฮอล์พอท่วม (ประมาณ 1 ลิตร) นาน 24 ชม. หรือแช่ในน้ำร้อนจัด 1 ลิตร นาน 24 ชม. เหมือนกัน ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อทั้งหมดผสมน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช ด้วงหมัดผัก ด้วงปีกแข็ง ด้วงงวงกัดใบ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไส้เดือนฝอย แมลงหวี่ขาว เชื้อรา(โรคกลิ่นสับปะรด โรคต้นเน่าผลเน่า โรคผักเน่า โรครากำมะหยี่หรือใบไหม้ โรคราน้ำค้าง โรครากเน่าโคนเน่า โรคเหี่ยว โรคใบจุด โรคใบเน่า) ไวรัสวงแหวนในมะละกอ แบคทีเรียต่างๆ

ขมิ้นชัน : ใช้ส่วนหัวแก่ 1 กก. โขลกละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1-2 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช เชื้อรา(โรคผลเน่า โรคใบแห้ง) หนอน(หนอนกระทู้ผัก หนอนคืบกะหล่ำ หนอนแก้ว หนอนใยผัก หนอนเจาะยอด) ด้วงเจาะเมล็ดถั่ว ด้วงงวงข้าวเปลือก มอดข้าวเปลือก ไรแดง

ข่าแกง ข่าลิง ขิง : ใช้ส่วนหัวแก่ 1 กก. โขลกละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1-2 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช เชื้อรา(โรคผลเน่า โรคฝักและเมล็ดเน่า โรคใบจุดสีน้ำตาล โรคใบแห้ง) หนอนกระทู้ ด้วงงวงทำลายเมล็ดพันธุ์ถั่ว

คูน : ใช่ส่วนฝักสดแก่จัด 1 กก. โขลกละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 3-4 วัน ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอน(หนอนกระทู้ หนอนคืบ หนอนใย หนอนเจาะยอด-ต้น-ดอก-ผล หนอนม้วนใบ) ด้วงต่างๆ

น้อยหน่า : ใช้ส่วนเมล็ดสดผลแก่ 1 กก. โขลกละเอียด แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 48 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อเจือจางน้ำเปล่า 1 เท่าตัว ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช มวนปีกแก้วมะเขือ หนอนกระทู้ เพลี้ยอ่อน ด้วงฟักทอง

ตะไคร้ หอม : ใช้ส่วนเหง้าและใบแก่สด สับเล็กหรืดบด 1 กก. แช่น้ำนาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอนกระทู้ หนอนใยผัก หนอนคืบ หนอนหลอดหอม หนอนแก้ว หนอนม้วนใบ …… ตะไคร้หอมที่จะให้สารออกฤทธิ์สูงสุดต้องเก็บช่วงเวลา 03.00 น. และน้ำมันระเหยตะไคร้หอมมีฤทธิ์แรงมาก ขนาดทำให้ผิวหนังคนเกิดอาการไหม้ได้ หากใช้กับพืชต้องใช้ในอัตราที่เจือจางมากๆ

มันแกว : ใช้เมล็ดสดแก่ 1 กก. บดละเอียดแช่น้ำ 100 ลิตรนาน 48 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอนกระทู้ หนอนคืบกะหล่ำ หนอนใยผัก หนอนผีเสื้อต่างๆ หมัดกระโดด มวนเขียว มวนหวาน เพลี้ยอ่อน

ว่านน้ำ : ใช้ส่วนเหง้าแก่สดบดละเอียด 1 กก. แช่น้ำ 40 ลิตร นาน 48 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 20 ซีซีง/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช แมลงวันแดง แมลงวันทอง ด้วงหมัดผัก มอดข้าวเปลือก แมลงปากกัดในผัก ราแอนแทรกโนส(ใบ/ผล/ยอด/ต้น/ผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว) ราต่างๆ ในดิน

ละหุ่ง : ปลูกละหุ่งเป็นแนวรอบสวนหรือแทรกตามพื้นที่ว่าง ถ้าเกะกะหรือกิ่งมากเกินไปให้ตัดทิ้งบ้างตามความเหมาะสม เพื่อให้ต้นแตกใบอ่อนใหม่ ศัตรูพืช แมงกะชอน จิ้งหรีด หนู ปลวก ไส้เดือนฝอย

มะรุม : ใช้ส่วนใบแก่แห้งบดป่นผสมดินปลูกที่หลุมปลูก อัตราส่วน ใบมะรุม 1 ส่วนต่อดินหลุมปลูก 10-20 ส่วน ทิ้งไว้ 7 วัน จึงเริ่มออกฤทธิ์ ศัตรูพืช โรคพืชจำพวกราทุกชนิด แมลงกัดกินรากและแมลงทุกชนิด

ผกากรอง : ใช้ส่วนดอกและใบแก่สด 1 กก. บดป่นแช่น้ำ 1 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 20-30 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช หนอนห่อใบข้าว
***สารสกัดผกากรองมีพิษต่อแมลงธรรมชาติ

ยาง มะละกอ : ใช้ส่วนใบแก่สดและเปลือกผลแก่ติดยาง 1 กก. บดป่นแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช ราสนิมกาแฟ ราแป้ง เพลี้ยไฟ

มะระ ขี้นก : ใช้ส่วนใบแก่สด 1 กก. บดป่นแช่น้ำ 5 ลิตร นาน 48 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 50-100 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ศัตรูพืช ด้วงหมัดผัก ด้วงกัดใบ แมลงสิงข้าว

.

สารสกัดสมุนไพรป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช (แบบผสม)

สะเดา เลี่ยน : ใบสะเดาแก่สด 5 กก. + ใบเลี่ยนแก่สด 5 กก. บดป่นแช่น้ำพอท่วมนาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1-2 กระป๋องนม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช กลุ่มเดียวกันกับสะเดา แต่มีประสิทธิภาพสูงกว่าเพราะมีสารจากใบเลี่ยนมาเสริมฤทธิ์

สะเดา เลี่ยน ดาวเรือง บอระเพ็ด ลูกเหม็น : ใบสะเดาแก่สด 1 กก. + ลูกสะเดาแก่สด ½ กก. + ดอกดาวเรืองสด ½ กก. บดป่นหรือสับเล็ก + น้ำพอท่วม ต้มจนเดือด 2-3 ชม. ปล่อยให้เย็นแล้ว + เถาบอระเพ็ดแก่สด ½ กก. + น้ำ 20 ลิตร แช่นาน 3 วันได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1 ลิตร + ลูกเหม็น 1-2 ลูก + น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช แมลงศัตรูพืชในพืชตระกูลถั่ว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ

สะเดา ข่า ตะไคร้หอม : ใบสะเดาแก่สด 5 กก. + ข่าแก่สด + ตะไคร้หอมทุกส่วนแก่สด 5 กก. บดละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 10-20 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช แม่ผีเสื้อ/ตัวหนอนแก้ว หนอนชอนใบ เพลี้ยแป้ง โรคราดำ ราแอนแทรกโนส โรครากเน่าโคนเน่า … พืชที่ได้ผล เช่น ส้มเขียวหวาน ส้มโอ หน่อไม้ฝรั่ง บัวหลวง

สะเดา ยาสูบ หางไหล ตะไคร้หอม : ใบสะเดาแก่สด 5 กก. + ใบยาสูบแก่สด 1 กก. + หางไหล 1 กก. + ตะไคร้หอมแก่สดทุกส่วน ½ กก. บดละเอียด + เหล้าขาว 750 ซีซี. + หัวน้ำส้มสายชู 150 ซีซี. + น้ำ 20 ลิตร หมักนาน 3-5 วันได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช ไล่แมลงทำให้ไข่แมลงฝ่อ กำจัดหนอนและโรคได้หลายชนิด

พริก พริกไทย ดีปลี : พริกสดเผ็ดจัด 1 กก. + พริกไทยผลสด 1 กก. + ดีปลีสด 1 กก. บดละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 200-500 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช มด เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนคืบ หนอนใย ไล่แมลงผีเสื้อ ไวรัส(ใบด่าง/ใบลาย)

สาบเสือ แค กระเทียม ตะไคร้หอม ข่า สะเดา : ใบสาบเสือแก่สด 1 กก. + เปลือกต้นแคสด 1 กก. + กระเทียมสด ½ กก. + ตะไคร้หอม 1 กก. + ใบสะเดาแก่สด 5 กก. บดปั่น + เหล้าขาว 1 ขวด(750ซีซี.) + หัวน้ำส้มสายชู 750 ซีซี. + น้ำ 40-60 ลิตร หมักนาน 3-5 วันได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช โรคเกิดจากเชื้อรา(ใบไหม้ ใบจุด ใบเน่า) โรคทางดิน(รากเน่า โคนเน่า เน่าคอดิน) เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง หนอนต่างๆ

ตะไคร้หอม/แกง ขิง ข่า พริก น้อยหน่า หางไหล หนอนตายหยาก : อย่างละเท่าๆ กันแก่สดบดละเอียด แช่น้ำพอท่วม (ใส่เหล้าขาว + หัวน้ำส้มสายชู ตามความเหมาะสม) แช่นาน 3-5 วันได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ร่วมกับใบ/เมล็ดน้อยหน่าแก่แห้ง + ตะไคร้หอมแก่แห้ง + ยาฉุน อย่างละเท่าๆ กัน บดปั่น หว่านลงพื้นรอบๆ โคนต้น ศัตรูพืช หมัดกระโดด

ยาสูบ ยาฉุน : ใบ/ต้นแก่สด 1 กก. + ยาฉุน ½ กก. บดละเอียดแช่น้ำ 2 ลิตร นาน 24 ชม. หรือต้ม 1 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อที่ได้/น้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช เพลี้ยต่างๆ ไร รา ด้วงหมัดผัก ด้วงเจาะสมอ หนอนคืบกะหล่ำ หนอนเจาะยอด/ใบ/ต้น/ดอก หนอนม้วนใบ และไล่แมลง

.

กรรมวิธีสกัดสารจากสมุนไพร

สูตร 1 : แช่หรือหมักด้วยน้ำเปล่าพอท่วมหรือน้ำมากกว่า 2-5 เท่าตามความเหมาะสม ทั้งนี้ถ้าใช้น้ำน้อยจะได้สารสกัดที่เข้มข้น หรือใช้น้ำตามปริมาณที่ระบุจากงานวิจัย … การหมักหรือแช่ด้วยน้ำเปล่าจะได้สารออกฤทธิ์ที่น้อยที่สุดในบรรดากรรมวิธี การหมักทุกรูปแบบ

สูตร 2 : สมุนไพร + กากน้ำตาล + จุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 3:1:1/2

สูตร 3 : สมุนไพร + น้ำเปล่า + กากน้ำตาล + จุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 10:10:1:1:1/2

สูตร 4 : สมุนไพร + น้ำเปล่า + เหล้าขาว + หัวน้ำส้มสายชู อัตรา 10:10:1/2:1/10

สูตร 5 : สมุนไพร + เหล้าขาว + หัวน้ำส้มสายชู อัตรา 10:10:1/10

สูตร 6 : สมุนไพร + เอธิลแอลกอฮอล์ อัตรา 1: 1 หรือ 1:2-3

สูตร พิเศษ : (1) สกัดด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อ พีดีเอ. (2) สกัดด้วยปิโตรเลียมอีเทอร์ (3) สกัดด้วยเอกเซนและอาซิโตน (4) สกัดด้วยวิธีต้มกลั่นหรือทำเป็นสารระเหย เป็นกรรมวิธีสกัดภายในห้องทดลองมีอุปกรณ์เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ได้สารออกฤทธิ์บริสุทธิ์และมีประสิทธิภาพสูงสุดเหมาะสำหรับเพื่อการค้

การเพาะเห็ดขอนขาว

ไม้ประดับทนน้ำท่วม

พรรณไม้ที่ปลูกในบ้านทนน้ำท่วมหรือไม่

การกล่าวว่า พรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งทนน้ำท่วมหรือไม่ ทนได้มากเพียงไร หรือทนได้มากกว่าหรือน้อยกว่าชนิดอื่นๆ นั้น จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานที่มีเกณฑ์เปรียบเทียบเดียวกัน อาทิเช่น ระดับน้ำท่วมสูง จำนวนวันที่น้ำท่วม เป็นน้ำหลากหรือไหลผ่านหรือน้ำนิ่งที่สะอาดหรือน้ำเน่าเสีย และพรรณไม้ที่นำมาเปรียบเทียบควรมีอายุ หรือความสูง หรือความแข็งแรงพอๆ กัน ถ้าจะเปรียบเทียบง่ายๆ ก็ดูจากบริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ว่าชนิดไหนตาย ชนิดไหนรอด แต่ก็มีอีกหลายชนิดที่ดูเหมือนว่า มีความทนทานต่อน้ำท่วม น้ำท่วมนานเท่าไร สูงเท่าไร ก็ทนได้ มีใบเขียวชอุ่มแน่นทรงพุ่ม แต่พอน้ำลด ดินโคนต้นเริ่มแห้ง ใบก็เริ่มเหี่ยว ร่วง และตายในที่สุด


    โดยปรกติในที่ราบลุ่มของภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ในภาคกลาง ได้แก่จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงฤดูฝนจะมีน้ำหลากจากภาคเหนือและท่วมขังอยู่เป็นเวลา 2-3 เดือน ประชาชนจึงปลูกบ้านที่มีเสาสูง 1.5-2.0 เมตร และยกพื้นบ้านให้สูงกว่าระดับน้ำ ส่วนพรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ในบริเวณนี้ก็ปรับตัวจนสามารถทนทานต่อน้ำท่วมได้ ทั้งนี้เนื่องจากภาวะน้ำท่วมที่เกิดจากน้ำหลากในฤดูฝน เป็นน้ำที่ไหลมาจากภูเขาในภาคเหนือ เป็นน้ำสะอาดไม่เน่าเสีย ในน้ำยังมีออกซิเจนมากเพียงพอให้รากต้นไม้ได้แลกเปลี่ยนกาซและดูดน้ำขึ้นไปใช้ ในเวลาเดียวกัน น้ำหลากเหล่านี้ได้พัดพาเอาตะกอนดินที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์จากภูเขาลงมาด้วย สังเกตได้ว่าน้ำมีสีน้ำตาลอ่อนหรือเหลืองนวลที่มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ดังนั้นน้ำหลากจึงช่วยให้พืชพื้นเมืองตามริมแม่น้ำเจ้าพระยาเจริญเติบโตได้ดี
     

    ทำไมพรรณไม้แต่ละชนิดจึงทนน้ำท่วมขังได้แตกต่างกัน

    ถ้าตอบแบบง่ายๆ และถูกต้องก็คือ เป็นธรรมชาติของพรรณไม้ หากขยายความก็คือ ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของพรรณไม้ เห็นได้จากถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์ (Habitat & distribution) พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ริมแหล่งน้ำ ก็จะชอบน้ำและทนทานต่อน้ำท่วม หากกล่าวถึงเฉพาะพรรณไม้พุ่มหรือไม้ต้นที่มีเนื้อไม้แข็ง สามารถสังเกตได้จากลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเปลือกลำต้นและเปลือกรากที่มีความแข็ง หรือหนาเหนียว และอาจพบช่องแลกเปลี่ยนก๊าซตามเปลือกที่เป็นรอยขีดนูนหรือเป็นตุ่มนูนสีขาวหรือเทา ดังเช่น ต้นมะกอกน้ำ มะดัน อโศกน้ำ ยางนา ละมุด มะกรูด ซึ่งมีความทนทานต่อน้ำท่วมได้ดี แต่ในขณะที่เปลือกลำต้นหรือเปลือกรากมีลักษณะค่อนข้างอ่อน หนาและค่อนข้างฉ่ำน้ำ เช่น จำปี จำปา มะกอก มะกอกฝรั่ง พญาสัตบรรณหรือตีนเป็ด ชมพูพรรณทิพย์ จะไม่ทนทานต่อน้ำท่วม


    ทำไมพรรณไม้ถึงตายเมื่อน้ำท่วม

    ตามธรรมชาติแล้วพรรณไม้ประดับทุกชนิดต้องการน้ำที่จะนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างอาหาร เพื่อการเจริญเติบโต แต่มีความต้องการในปริมาณที่เหมาะสมไม่เท่ากัน โดยดูดซับเข้ามาทางรากขนอ่อนที่อยู่ส่วนปลายของราก รากขนอ่อนนี้มีผนังบางๆ หากมีน้ำท่วม น้ำจะเข้าไปแทนที่ฟองอากาศที่มีอยู่ในดิน ทำให้รากแลกเปลี่ยนก๊าซไม่ได้ เซลล์จะตายหรือเน่าเสีย ทำให้รากใหญ่ดูดน้ำขึ้นไปใช้ไม่ได้ ใบก็จะขาดน้ำ ทำการสังเคราะห์แสงไม่ได้ ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เหี่ยวแห้งและร่วง ตายในเวลาต่อมา ซึ่งหลายคนสงสัยว่า ทำไมใบไม้ขาดน้ำ ทั้งๆ ที่ต้นแช่น้ำอยู่


    พรรณไม้ประดับที่ทนน้ำท่วม

    พรรณไม้ที่ทนน้ำท่วมส่วนใหญ่ขึ้นอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง หรือขึ้นอยู่ริมแหล่งน้ำที่เป็นแม่น้ำ ลำธาร น้ำตก หนองบึง หรือพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นพรรณไม้พื้นเมืองดั้งเดิมของไทย อาทิเช่น พรรณไม้ในวงศ์ยาง (Family Dipterocarpaceae) ได้แก่ ยางนา ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนทราย สยาขาว กระบาก จันทน์กะพ้อ พะยอม พรรณไม้ในวงศ์มะเกลือ (Family Ebenaceae) โดยเฉพาะในสกุลมะพลับ (Genus Diospyros) ได้แก่ มะพลับ ไม้ดำ ดำดง สั่งทำ ตะโกพนม ตะโกนา ตะโกสวน จันดำ จันอิน มะเกลือ พญารากดำ พรรณไม้ในวงศ์อื่นๆ ได้แก่ โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ โกงกางหัวสุม โกงกางหูช้าง  กระโดน กระทุ่มน้ำ กระทุ่มนา กระเบา กรวยน้ำ กะพ้อแดง กะพ้อหนาม กาจะ การเวกน้ำ เกด กุ่มน้ำ ข่อย ขะเจาะน้ำ ขี้เหล็กบ้าน คัดเค้าเครือ คล้า คลุ้ม เคี่ยม แคนา ไคร้ย้อย จิกน้ำ จิกสวน ชมพู่น้ำ ชำมะเลียงบ้าน ตะแบกนา ตีนเป็ดน้ำ ตีนเป็ดทราย เตยทะเล เตยน้ำ เตยพรุ  เตยหอม เตยหนู เต่าร้าง ทองกวาว ไทร โพธิ์ นาวน้ำ นนทรี นมแมว ประดู่ป่า ประดู่บ้าน ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง  ไผ่ป่า ฝรั่ง พิกุล พุดทุ่ง  พุดภูเก็ต พุดสี  พุทรา โพทะเล มะกรูด โมกลา มะพร้าว มะขาม มะขามเทศ  มะเดื่อกวาง มะตูม ยอบ้าน ละมุด ลำพู สะแก สะตือ เสม็ด สารภี หูกวาง หมากสง อินทนิล อโศกป่าพุ (พุเมืองกาญจนบุรี) 

    นอกจากนี้ยังมีพรรณไม้จากต่างประเทศอีกหลายชนิดที่นำเข้ามาปลูกกัน แล้วมีความทนทานต่อภาวะน้ำท่วมได้ อาทิเช่น อโศกอินเดีย ก้ามปู หูกระจง กระดังงาจีน

    สำหรับพรรณไม้ประดับบางชนิด มีความทนทานเป็นเลิศ ถึงแม้ว่าจะมีน้ำท่วมสูงมิดยอดเป็นเวลานาน (ทนได้ถึง 30 วัน) ได้แก่ ปาล์มแวกซ์ (Copernicia prunifera) ต้นตาลโตนด (Borassus flabellifer) จาก สาคู อโศกน้ำ มะกอกน้ำ มะดัน หลังจากน้ำลดลงแล้ว เจริญเติบโตต่อได้เลย

    อย่างไรก็ตาม การปลูกพรรณไม้ทนน้ำท่วมเหล่านี้ประดับบ้าน ก็ควรมีการตัดแต่งทรงพุ่มให้สวยงาม มีการกำจัดวัชพืช โรคและแมลง มีการพรวนโคนต้นให้สวยงาม พร้อมทั้งมีการใส่ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโตเป็นช่วงๆ พรรณไม้เหล่านี้ก็จะเป็นไม้ประดับที่สวยงาม พร้อมที่จะสู้ทนน้ำท่วมให้เจ้าของบ้านอย่างท่านได้สบายใจ

    (อ้างอิง : ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น  ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.))
    นมแมว นาวน้ำ
    อโศกน้ำ
    อโศกป่าพุ





                                                                   การปลูกพืชไร้ดิน
            
             จากในอดีตที่ผ่านมาการปลูกพืชไร้ดิน ถือว่าเป็นการปลูกพืชโดยใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนค่อนข้างสูงเกินไปสำหรับเกษตรกรบ้านเรา แต่เนื่องจากการปลูกพืชในดินติดต่อกันมาเป็นเวลานานมากทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย ทั้งดินเค็ม, เดินเปรี้ยว, แมลงศัตรูพืช ทำให้ต้องใช้สารเคมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงได้มีการคิดค้นดัดแปลงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการปลูกพืชไร้ดิน โดยใช้อุปกรณ์เก่าจากโรงเรือนฟาร์มไก่ไข่ มาทำเป็นแปลงปลูก และใช้ระบบน้ำวนไหลผ่านรากพืช โดยใส่ธาตุอาหารที่พืชต้องการลงในถังน้ำ ซึ่งทำให้ลดต้นทุนการปลูกพืชไร้ดินลงได้มาก จากการลองผิดลองถูกมาเป็นเวลา 1 ปีเต็ม ก็ได้ผลผลิตตามที่ตลาดต้องการ และที่สำคัญคือไม่ต้องใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตที่ได้ปลอดภัยต่อผู้บริโภคจริงๆ
    ข้อดีของการปลูกพืชไร้ดิน1. สามารถปลูกพืชได้ทั้งปีเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้สูงขึ้นกว่าแบบเก่า 50-100% และยังสามารถออกแบบให้ประหยัดพื้นที่การปลูกได้ด้วย
    2. ดูแลได้ทั่วถึงเนื่องจากเป็นระบบที่ง่ายต่อการควบคุมและป้องกันโรคและแมลง ไม่ใช้สารเคมีกำจัดแมลง 100% และไม่มีปัญหาในการกำจัดวัชพืชในพื้นที่ปลูก
    3. ประหยัดน้ำและปุ๋ยเพราะสามารถควบคุมได้ตามที่พืชต้องการ
    4. ไม้ต้องไถพรวน สามารถลดการทำลายหรือชะล้างหน้าดิน
    5. มีผลผลิตสม่ำเสมอ และอายุเก็บเกี่ยวเร็วขึ้น เนื่องจากพืชสามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้อย่างสม่ำเสมอ
    6. ผลผลิตที่ได้มีความสะอาด สด คุณภาพดี และที่สำคัญคือ ปลอดสารพิษ
    7. สามารถพัฒนาการปลูกไปในเชิงพาณิชย์ได้


    ข้อเสียของการปลูกพืชไร้ดินเนื่องจากมีการดัดแปลงแก้ไขและปรับปรุงในระบบเรื่อยมา ทำให้ลดข้อเสีย
    ต่างๆที่เคยพบในอดีตลงไปได้มาก เช่น
    1.ข้อเสียในเรื่องของเทคโนโลยีต่างประเทศที่ราคาค่อนข้างสูง ตอนนี้สามารถใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านดัดแปลงได้ ซึ่งผลผลิตที่ได้ก็ไม่ได้แตกต่างกัน
    2. ความหลากหลายของพืชที่ปลูกไร้ดิน ในระยะแรกจะปลูกเฉพาะผักต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ในปัจจุบันนี้สามารถปลูกได้ทั้งผักไทย ผักจีน และผักต่างประเทศ
    3. ผู้ปลูกต้องมีความรู้อย่างแท้จริงต่อการปลูกพืชไร้ดิน ซึ่งในปัจจุบันได้มีเอกสารแนะนำ และสามารถขอข้อมูลได้จากสำนักงานเกษตรในทุกพื้นที่
    4. เรื่องของตลาดนั้นในปัจจุบันไม่ถือเป็นปัญหาอีกต่อไป เพราะผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีต่อเกษตรกรที่สนใจทำธุรกิจการปลูกพืชไร้ดินมากขึ้น

    ความปลอดภัยต่อผู้บริโภคพืชไร้ดิน
    การปลูกพืชไร้ดินเป็นการนำสารละบายธาตุอาหารมาละลายโดยใช้ธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อความต้องการของพืชเช่นเดียวกับการปลูกพืชในดิน แต่ต่างกันตรงพืชที่ปลูกในดินจะต้องอาศัยจุลินทรีย์มาเปลี่ยนเป็นรูปของธาตุอาหารซึ่งบางครั้งหากในดินมีธาตุโลหะหนัก เช่นดีบุก ตะกั่ว แคดเมียม ซึ่งเป็นพิษต่อผู้บริโภค จุลินทรีย์ก็เปลี่ยนให้พืชสามารถดูดธาตุที่เป็นพิษเข้าไปได้ แต่ในขณะที่การปลูกพืชไร้ดินเราสามารถควบคุมธาตุที่มีความจำเป็นเฉพาะการเจริญเติบโตของพืชและความปลอดภัยต่อผู้บริโภคเท่านั้น